คำถามพบบ่อย

หลากหลายข้อสงสัย พบกับคำตอบและข้อมูลด้านประกันภัยได้ที่นี่

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำประกันภัย

01 ประกันภัยรถยนต์

1.1 บริษัทมีการให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยหรือไม่

มีส่วนลดสำหรับการประกันภัยรถยนต์

1.มีส่วนลดให้ 5% เมื่อลูกค้ามีกล้องหน้ารถยนต์

2.การให้ส่วนลดกลุ่มสำหรับการเอาประกันภัยรถยนต์พร้อมกันจำนวน 3 คันขึ้นไป ภายใต้นามสกุลเดียวกันหรือเป็นบริษัทเดียวกัน สำหรับลูกค้าซึ่งประกอบธุรกิจ โดยลด 10% จากอัตราเบี้ยประกันภัยปกติ

3. กรณีที่ลูกค้า เป็นลูกค้าต่ออายุจะมีส่วนลดประวัติดีเพิ่มเติมให้ โดยที่ส่วนลดประวัติดีนั้น ลูกค้าจะได้เพิ่มปีละ 10% และสูงสุดที่ 50% ของเบี้ยประกัน กรณีที่ลุกค้า ไม่มีประวัติการณ์เคลมหรือ มีประวัติการณ์เคลมในปีนั้นๆแต่ลูกค้าเป็นฝ่ายถูก

1.2 บริษัทมีส่วนลดสำหรับผู้เอาประกันที่ต้องการต่ออายุในปีถัดไปหรือไม่?

กรณีในปีที่ทำประกันไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น หรือมีแต่เป็นฝ่ายถูก (สามารถแจ้งคู่กรณีได้) จะได้รับส่วนลดประวัติดี 20%, 30%, 40% และสูงสุด 50% ทั้งนี้ หากได้รับส่วนลดประวัติดีที่ 50% แล้วมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในปีเดียวกัน บริษัทจะให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ ดังนี้

        1. ลำดับขั้นจากเดิม กรณีมีการเรียกร้องค่าสินไหมที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้เป็นฝ่ายประมาท และแจ้งคู่กรณีได้

        2. ลดลงหนึ่งลำดับขั้นจากเดิม หากการเรียกร้องนั้นเกิดจากความประมาทของผู้เอาประกัน หรือแจ้งคู่กรณีไม่ได้

       3. ลดลงสองลำดับขั้นจากเดิมแต่ไม่เกินอัตราปกติ หากมีการเรียกร้องโดยผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายประมาทหรือแจ้งคู่กรณีไม่ได้ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป และมีจำนวนเงินเกิน 200% ของเบี้ยประกันภัย"

1.3 การประกันภัยแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ กับไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่แตกต่างกันอย่างไร และสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ได้กี่คน ?

การระบุชื่อผู้ขับขี่ เบี้ยประกันจะถูกกว่าไม่ระบุชื่อ หากมีการระบุชื่อจะมีส่วนลดโดยกำหนดตามอายุของผู้ขับขี่ ดังนี้

        - อายุ 18 - 24 ปี ลด 5%

        - อายุ 25 - 35 ปี ลด 10%

        - อายุ 36 - 50 ปี ลด 15%

        - อายุ 50 ปีขึ้นไป ลด 20%

ทั้งนี้ สามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ 2 คน โดยจะคิดค่าเบี้ยประกันจากผู้ขับขี่ที่มีอายุความเสี่ยงสูง"

1.4 รถประเภทใดบ้าง ที่สามารถทำประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ได้?

รถเก๋ง, รถนั่ง, รถจักรยานยนต์ ที่จดทะเบียนในนามของบุคคล ยกเว้นรถยนต์บรรทุก และรถที่จดทะเบียนในนามของนิติบุคคล

1.5 กรณีที่ระบุชื่อผู้ขับขี่ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ บุคคลที่ขับขี่ไม่ใช่ผู้ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์จะมีผลอย่างไร?

จะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายในกรณีซ่อมรถของผู้เอาประกัน 6,000.- บาท แรก และถ้ามีการชดใช้ค่าเสียหายทรัพย์สินของคู่กรณี จะต้องรับผิดชอบ 2,000.-บาทแรก รวมเป็น 8,000.-บาท

1.6 กรณีต้องการเปลี่ยนความคุ้มครองในกรมธรรม์ เช่น เปลี่ยนจากประเภท 3 เป็น ประเภท 1 ต้องทำอย่างไร?

  • กรณี เปลี่ยนจากประเภท 3 เป็น ประเภท 1 ต้องนำรถยนต์เข้ามาให้ตรวจสภาพรถก่อน เพื่อตรวจสอบว่ามีอุบัติเหตุหรือไม่ โดยเบี้ยประกันภัยที่เปลี่ยนจะเริ่มคิด ณ วันที่ตรวจรถ จนสิ้นสุดอายุประกันภัย
  • กรณี เปลี่ยนจากประเภท 1 เป็น ประเภท 3 ให้ผู้เอาประกันภัยเขียนบันทึก หรือเขียนยืนยันการแจ้งเปลี่ยนประกัน เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วส่ง FAX มาให้บริษัท โดยเบี้ยประกันภัยจะคืนให้ในส่วนที่เปลี่ยนจากประเภท 1 เป็นประเภท 3 ณ วันที่ได้รับแจ้งจนสิ้นสุดอายุกรมธรรม์

1.7 ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกในกรณีใดบ้างหรือไม่อย่างไร และเป็นจำนวนเงินเท่าใดต่อการเกิดเหตุแต่ละครั้ง ?

กรณีเกิดอุบัติเหตุรถยนต์เกิดความเสียหายและไม่ทราบหรือไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนแรกเองในวงเงิน 2,000 บาทแรก หรือต้องรับภาระต่อความเสียหายส่วนแรกตามเงื่อนไขภายใต้กรมธรรม์ประกันภัย สำหรับในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อความคุ้มครองในลักษณะกำหนดค่าเสียหายส่วนแรกที่ตกลงกันเพื่อผลในการประหยัดค่าเบี้ยประกันภัย

1.8 กรณีที่ผู้เอาประกันภัย ได้ขายรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นจะต้องทำอย่างไร?

- แจ้งยกเลิกกรมธรรม์เพื่อขอรับค่าเบี้ยประกันภัยคืนบางส่วน

- โอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์ โดยที่ผู้เอาประกันภัยเดิม จะต้องมีเอกสารยินยอมให้เปลี่ยนชื่อผู้เอาประกันภัย

1.9 หากขายรถยนต์คันเดิม แล้วซื้อคันใหม่ จะสามารถนำรถคันใหม่มาแทนคันเก่าได้หรือไม่?

สามารถทำได้ โดยใช้เลขที่กรมธรรม์และวันสิ้นสุดกรมธรรม์ตามเดิม ซึ่งสามารถที่จะโอนส่วนลดจากรถคันเดิมมาคันใหม่ได้

02 ประกันภัยการเดินทาง

2.1 ประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง และมีอาณาเขตการคุ้มครองอย่างไร?

ประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางให้ความคุ้มครอง ตลอด 24 ชั่วโมง และครอบคลุมทั่วโลก โดยคุ้มครองในกรณีต่างๆ ต่อไปนี้

        1. การสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ระหว่างเดินทาง

        2. การสูญเสียอวัยวะ และสายตา

        3. การรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและไม่สามารถคาดการณ์ได้

2.2 ประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางให้ความคุ้มครองช่วงอายุใดบ้าง?

ผู้ทำประกันภัยต้องมีอายุตั้งแต่ 1 - 85 ปีบริบูรณ์
หมายเหตุ : ขึ้นอยู่กับแผนประกันที่ทำอาจมีการปรับเปลี่ยนอายุขั้นต่ำหรือสูงสุดที่สามารถทำได้

2.3 ประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางมีระยะเวลาคุ้มครองกี่วัน?

1-180 วัน ตามแต่ระยะเวลาที่ลูกค้าจะเลือกเดินทาง

2.4 ประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทาง คุ้มครองการสูญเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย และค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยด้วยหรือไม่?

ประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางจะคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุอย่างเดียว และไม่รวมค่ารักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วย ยกเว้นเป็นการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและไม่สามารถคาดการณ์ได้ 

2.5 ประกันอุบัติเหตุเดินทางคุ้มครองการขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ การถูกฆ่าหรือถูกทำร้ายร่างกายหรือไม่?

การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ การถูกฆ่า หรือถูกทำร้ายร่างกาย

2.6 ประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางมีวงเงินประกันภัยขั้นต่ำสุด และสูงสุดเท่าไร?

ประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางมีวงเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 50,000 ถึง 3,000,000 บาท 

2.7 ประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางมีวงเงินค่ารักษาพยาบาล คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของทุนประกันภัย?

ค่ารักษาพยาบาลที่คุ้มครองมักกำหนดไว้ไม่เกิน 10% ของวงเงินเอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามที่ได้จ่ายไปจริง และเหมาจ่ายช่วงระหว่างเดินทางไม่เกินวงเงินเอาประกันภัยที่ทำไว้

03 ประกันภัยอัคคีภัย

3.1 เดิมแจ้งเป็น ร้านอาหาร/ที่อยู่อาศัย ตอนนี้เป็นที่อยู่อาศัยอย่างเดียว ถ้าแจ้งเปลี่ยนจะมีผลต่อการคิดเบี้ยหรือไม่ และต้องแจ้งอย่างไร

หากเปลี่ยนลักษณะการใช้อาคาร ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้บริษัทฯ ทราบก่อน เพื่อจะได้ดำเนินการออกสลักหลังให้โดยแจ้งเลขที่กรมธรรม์ฉบับปัจจุบัน และจะได้รับค่าเบี้ยประกันภัยคืนบางส่วน เนื่องจากอัตราเบี้ยประกันภัยถูกลง

3.2 ผมทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย แต่สถานที่ตั้งหรือเก็บทรัพย์สินเอาประกันภัย ที่ปรากฏตามกรมธรรม์ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงอยากเรียนสอบถามว่า จะเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งให้ถูกต้อง จะต้องดำเนินการอย่างไร

ถ้าคุณลูกค้าต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรม์ กรุณานำเลขกรมธรรม์ พร้อมลายละเอียดที่ถูกต้องติดต่อตามช่องทางดังต่อไปนี้

1. กรณีเป็นลูกค้าผ่านช่องทาง ธนาคารกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ท่านได้ซื้อประกันภัย

2. กรณีเป็นลูกค้าผ่านช่องทางตัวแทน กรุณาติดต่อตัวแทนที่ลุกค้าได้ทำประกัน

3. กรณีลูกค้าติดต่อบริษัทโดยตรง ลูกค้าสามารถส่งข้อมูลผ่านหน้าเว็บไซต์ หรือคลิ๊กที่ TIP Chat ในมุมล่างขวาของเว็บไซต์

04 ประกันภัยอุบัติเหตุ

4.1 การทำประกันภัยประเภทนี้ต้องมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ และผู้เอาประกันภัยควรมีอายุเท่าไร?

การทำประกันภัยประเภทนี้ไม่ต้องตรวจสุขภาพ และผู้เอาประกันภัยต้องมีอายุตั้งแต่ 15 - 60 ปีบริบูรณ์ ถ้าเป็นกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับนักเรียน จะแบ่งเป็นระดับชั้นอนุบาล อุดมศึกษา และสายอาชีพ

4.2 การเบิกค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ จำเป็นหรือไม่ที่ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นคนไข้ใน?

ไม่จำเป็น เพียงแต่ผู้เอาประกันภัยต้องได้รับการรักษา โดยแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ตามกฎหมาย หรือได้รับการพยาบาลโดยพยาบาลที่มีใบอนุญาต เช่น คลินิก โรงพยาบาลของสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลเอกชน ก็สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้

4.3 ผู้เอาประกันภัยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้กี่ครั้ง?

ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามที่ได้จ่ายไปจริง ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 52 สัปดาห์ นับแต่วันเกิดอุบัติเหตุ และอยู่ในช่วงระยะเวลาประกันภัย ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุกี่ครั้งก็ตาม แต่ละครั้งบริษัทจะชดใช้ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ทำไว้

4.4 ค่ารักษาพยาบาลจะเบิกซ้ำซ้อน จากหน่วยงานที่ให้สวัสดิการได้หรือไม่?

ไม่สามารถเบิกได้ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้จากสวัสดิการของรัฐ หรือจากการประกันภัยอื่นมาแล้ว บริษัทจะรับผิดเรื่องจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้จ่ายไปตามจริง

4.5 ค่ารักษาพยาบาลในที่นี้ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากการเจ็บป่วยด้วยหรือไม่?

ค่ารักษาพยาบาลในที่นี้ไม่รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการเจ็บป่วย จะชดเชยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากอุบัติเหตุเท่านั้น

4.6 เอกสารประกอบที่จะใช้ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลมีอะไรบ้าง?

เอกสารประกอบที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาล ได้แก่

       1. แบบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (แบบฟอร์มของบริษัท)

       2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรนักศึกษา

       3. ใบรับรองแพทย์ (ต้นฉบับ)

       4. ใบเสร็จรับเงิน (ต้นฉบับ)

4.7 ในการทำประกันภัย มีการกำหนดวงเงินเอาประกันภัยอย่างไร?

วงเงินเอาประกันภัยปกติจะกำหนดไว้ไม่เกิน 10 เท่าของรายได้ (หลังหักค่าใช้จ่าย) ต่อปี หรือ 100 เท่าต่อเดือน ส่วนวงเงินค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุมักกำหนดไว้ไม่เกิน 10% ของวงเงินเอาประกันภัยการเสียชีวิต

4.8 เอกสารที่จะใช้ประกอบกรณีสูญเสียอวัยวะ และสายตา หรือทุพพลภาพ มีอะไรบ้าง?

1. แบบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (แบบฟอร์มของบริษัท)

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรนักศึกษา

3. ใบรับรองแพทย์ (ต้นฉบับ)

4. ใบเสร็จรับเงิน (ต้นฉบับ)

4.9 เอกสารที่จะใช้ประกอบกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ มีอะไรบ้าง?

1. แบบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (แบบฟอร์มของบริษัท)

2. ใบมรณบัตร

3. ใบชันสูตรพลิกศพ (สาเหตุการตาย)

4. สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้เสียชีวิตและผู้รับประโยชน์)

5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้เสียชีวิตและผู้รับประโยชน์)

6. สำเนาบันทึกประจำวัน การเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ

7. ผลจากสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (กรณีถูกฆาตกรรม)

4.10 ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตาย บริษัทจะจ่ายเงินชดเชยให้หรือไม่?

ไม่จ่าย

05 กรมธรรม์สูญหาย

ถ้าทำกรมธรรม์หาย ต้องทำอย่างไรบ้าง

1. ทางบริษัทขอทราบถึงข้อมูลของผู้เอาประกันภัย พร้อมเบอร์กรมธรรม์ (ถ้ามี)

2. ในกรณีที่กรมธรรม์หาย ทางบริษัทสามารถถ่ายเอกสารสำเนากรมธรรม์พร้อมประทับตราบริษัท รับรองสำเนาถูกต้อง เพื่อให้แก่ลูกค้าได้

3. ในกรณีมีการเรียกร้องค่าสินไหม ข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดจะอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถทำการตรวจสอบได้ว่ามีประกันภัยกับบริษัทไว้หรือไม่

06 ช่วงอายุของผู้เอาประกันภัย

กรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้เยาว์ จะให้ผู้แทนโดยชอบธรรมลงนามแทนได้หรือไม่?

สามารถทำได้

07 ประกันใกล้หมดอายุ

ถ้าลูกค้าต้องการแจ้งต่ออายุการประกันภัย จะสามารถแจ้งได้โดยวิธีใด?

1. ทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2248-0059 ต่อ 438, 439

2.ต่อผ่านเว็บไซต์ https://www.tipinsure.com/Renew

3.ต่อผ่าน แอปพลิเคชั่น TIP Insure

4. ส่งโทรสารมาที่หมายเลข 0-2643-2997 และ 0-2643-9499

5. ส่งหนังสือแจ้งกลับมาที่บริษัท

ทางบริษัทจะมีหนังสือแจ้งกรณีที่ กรมธรรม์ใกล้หมดความคุ้มครองหรือไม่?

บริษัทจะแจ้งหนังสือการต่ออายุล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ลูกค้าทราบว่ากรมธรรม์จะหมดอายุเมื่อไร

08 กรณียกเลิกกรมธรรม์

หากกรมธรรม์ยังไม่หมดอายุประกัน สามารถยกเลิกกรมธรรม์ได้หรือไม่ และจะคืนเบี้ยกันอย่างไร?

สามารถยกเลิกได้ โดยผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งการยกเลิกกรมธรรม์ มาเป็นลายลักษณ์อักษร และบริษัทจะคืนเบี้ยประกันส่วนที่เหลือตามอัตราส่วน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสินไหม

01 การเคลมประกันรถยนต์

1.1 บริษัทมีศูนย์ช่วยเหลือ 24 ชั่วโมงหรือไม่

มี โทร 1736 กด 1

1.2 แจ้งเคลมสินไหมผ่านช่องทางใด ได้บ้าง

1. โทร 1736 กด 1 กรณีแจ้งเคลมใน กทม. จะได้รับบริการภายใน 25 นาที

2.ผ่านระบบออนไลน์ ที่ศูนย์ซ่อมมาตรฐานในเครือ

3.เคาท์เตอร์เคลมที่ สนญ. และทุกสาขาทั่วประเทศ ในวันจันทร์ถึงศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8:30 - 16:30

4.Application Tip flash claim

5.Line Official Account ของบริษัทฯ @Dhipayainsurance

6.Tip tele claim Team

  • นำรถมาติดต่อที่บริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ ออกใบรับรองความเสียหาย ให้ลูกค้าถือไปเข้าซ่อมที่อู่ในเครือ
  • โทรแจ้งไปที่บริษัทฯ เพื่อให้พนักงานไปพบและออกใบรับรองความเสียหาย ให้ลูกค้าถือไปเข้าซ่อมอู่ในเครือ
  • โทรแจ้งไปที่บริษัทฯ เพื่อขอเลขเคลม แล้วขอรายชื่ออู่ในเครือที่คุณสามารถไปเปิดเคลมและจัดซ่อมได้

1.3 เวลาเคลมสินไหมต้องใช้เอกสารใดบ้าง

สามารถตรวจสอบได้ที่ >> Click <<

1.4 หลังแจ้งเคลมและได้ใบเคลม รถสามารถใช้ใบเคลมเพื่อเข้าซ่อมได้นานขนาดไหน?

กำหนด 2 ปี ตามกฎหมาย

กรณีประกันเป็นฝ่ายถูกควรจัดซ่อมภายใน 1 ปีนับแต่เกิดเหตุ

แต่ในทางปฏิบัติไม่ควรเก็บไว้นาน เพราะอาจมีปัญหา เช่น ส่วนที่เสียหายขึ้นสนิม รถอาจเกิดเหตุเฉี่ยวชนซ้ำ ฯลฯ โดยแนะนำให้นำไปให้อู่ซ่อมก่อนหมดอายุอย่างน้อย 2 เดือนเพื่อให้อู่มีเวลาตั้งเบิกและป้องกันการเกิดเหตุซ้ำซ้อน

1.5 กรณีที่เคลมแล้วโดยที่จะให้ผู้อื่นเป็นคนไป ทำเรื่องตั้งเบิกค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง?

ได้โดยต้องเตรียมเอกสาร หนังสือมอบอำนาจ เพิ่มเติมโดยสามารถศึกษาเพิ่มได้ที่ >> Click <<

1.6 กรณีที่ซ่อมรถจากอุบัติเหตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ผลพบว่าหลังซ่อมมีส่วนที่ยังไม่เรียบร้อย ควรทำอย่างไรดี

แจ้งมาทางบริษัทฯ และนำรถกลับไปเข้าที่อู่ให้แก้ไข เนื่องจากอู่มีรับประกันงานซ่อม หากอู่ยืนยันว่าเรียบร้อย แต่ลูกค้าไม่ยอมรับ สามารถแจ้งบริษัทให้ส่ง เจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบพร้อมกันทุกฝ่ายที่อู่ได้

1.7 ทำไมบางทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วเคลมประกัน ทำไมถึงได้อะไหล่มือ 2 แทนที่จะเป็นอะไหล่มือใหม่

เมื่อรถได้รับความเสียหายก็ต้องมีการชดเชยให้คืนอยู่ในสภาพเดิม

ตามหลักแล้วบริษัทประกันจะชดใช้ให้ตามสภาพของอะไหล่ที่เสียหาย ตามเงื่อนไข กรมธรรม์ โดยมีหลักการชดใช้ 3 แบบ

1.ซ่อม

2.เปลี่ยน

3.ชดใช้

กรมธรรม์ไม่มีระบุว่าต้องเปลี่ยนอะไหล่แท้ใหม่ การให้อะไหล่แท้ใหม่โดยส่วนใหญ่ จะทำเมื่ออายุรถไม่เกิน 3 ปี (ยกเว้นอะไหล่เกี่ยวกับความปลอดภัย ส่วนใหญ่จะให้ของแท้) หรือเป็นไปตามนโยบายของบริษัทฯ

1.8 กรณีรถยนต์เกิดความเสียหายและไม่สามารถระบุคู่กรณีได้จะ เสียประวัติดีหรือไม่?

เมื่อเกิดเหตุเฉี่ยวชน หรือ รถยนต์เสียหายในกรณีใดๆก็ตาม ลูกค้าจะเสียค่าส่วนลดประวัติดีทุกประการ ยกเว้นการชนมีคู่กรณีแล้วลูกค้าเป็นฝ่ายถูก และสามารถเรียกร้องคู่กรณีได้

1.9 ค่าเสียหายส่วนแรกจะต้องเสียในกรณีใดบ้าง

ค่าเสียหายส่วนแรก มี 2 กรณี คือ

  1. ค่าเสียหายส่วนแรกตามที่ระบุหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย (Deductible)
  2. ค่าเสียหายส่วนแรกตามเงื่อนไขกรมธรรม์ (Excess)
    1. ความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชน การคว่ำ หรือถูกชนแล้วไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ (Excess 1,000 บาทต่อเหตุการณ์)
    2. กรณีผู้ขับขี่ไม่ตรงกับชื่อที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ระบุผู้ขับขี่ (กรณีรถประกันเป็นฝ่ายผิด)
      • กรณีความเสียหายต่อรถประกัน (Excess  6,000 บาทต่อเหตุการณ์)
      • กรณีความเสียหายต่อทรัพย์สินคู่กรณี (Excess 2,000 บาทต่อเหตุการณ์)

1.10 กรณีเกิดอุบัติเหตุระหว่างขับรถ จนทำให้เกิดการเสียชีวิตบริษัทจะจ่ายค่าชดเชยอย่างไร

1. ผู้ขับขี่รถประกัน ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นของ พรบ. และ อุบัติเหตุส่วนบุคคลตามเอกสารแนบท้าย

2. บุคคลภายนอก ชดใช้ค่าเสียหายของ พรบ. และภาคสมัครใจ เต็มวงเงินประกันภัย

3. บุคคลภายนอก ที่เข้าข้อยกเว้น ได้แก่ สามีภรรยา บิดามารดา บุตรของผู้ขับขี่รถประกัน ชดใช้ค่าเสียหายตาม พรบ. เต็มวงเงินประกัน และ อุบัติเหตุส่วนบุคคลตามเอกสารแนบท้าย

1.11 กรณีที่รถชนเสียหายชำรุดจนไม่สามารถซ่อมได้ จึงต้องเปลี่ยนอะไหล่ อะไหล่เก่าที่เสียหายนั้นจะตกไปอยู่ที่ใคร?

ประกันจะจ่ายสินไหมให้สำหรับการเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ ส่วนอะไหล่ที่ชำรุดจะทำการคืนให้บริษัทประกันภัย

1.12 กรณีรถเสียหายและต้องการทำสีใหม่ทั้งคันควรทำอย่างไร

กรุณาแจ้งเคลมและบริษัทฯ จะตรวจสอบความเสียหาย เพื่อออกหลักฐานให้ไปดำเนินการจัดซ่อม

1.13 หากนั่งรถสาธารณะที่มีประกันภัยของทิพยประกันภัยแล้วเกิดอุบัติเหตุ ได้รับบาดเจ็บ บริษัทจะคุ้มครองค่ารักษาให้หรือไม่?

บริษัทจะคุ้มครองผู้เสียหาย ในฐานะบุคคลภายนอก โดยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนของ พรบ. และ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ตามความเสียหายจริง แต่ไม่เกินวงเงินประกันภัย

1.14 หากผู้ขับขี่ขับไปชนรถที่มีประกันกับทางทิพยประกันภัย โดยที่ผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิด แต่ผู้ขับขี่ไม่มีประกันภัย ต้องการดำเนินงานตามขั้นตอนอย่างไรบ้างในการเรียกร้องค่าเสียหายอย่างไรบ้าง?

  1. พนักงานสำรวจอุบัติเหตุที่ออกไปตรวจสอบและเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดเหตุหรือที่นัดหมาย
  2. กรณีที่ไม่สามารถชำระค่าเสียหายในที่เกิดเหตุหรือที่นัดหมาย ให้ผู้ขับขี่ทำบันทึกยอมรับผิดหรือลงบันทึกประจำวันเปรียบเทียบปรับ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเรียกร้อง

1.15 กรณีที่ พรบ.ขาดแต่ยังมีประกันชั้น 1 อยู่ ถ้าเกิดเหตุรถชนบาดเจ็บ บริษัทจะมีการจ่ายค่ารักษาอย่างใด

ผู้ขับขี่หรือผู้ละเมิดจะต้องชำระค่ารักษาให้ผู้บาดเจ็บ เท่ากับเต็มวงเงินความคุ้มครอง พรบ. ก่อน และทางบริษัทจึงจะชำระค่ารักษาตามความคุ้มครองของกรมธรรม์ภาคสมัครใจ ตามสัญญาประกันภัย

1.16 ถ้าน้ำท่วมรถยนต์ สำหรับประกันชั้น 1 หรือแผนประกันที่ครอบคลุมถึงเรื่องน้ำท่วมจะมีการจ่ายสินไหมอย่างใดบ้าง

1. ท่วมบางส่วน จ่ายตามความเสียจริง ไม่เกิน 70% ของทุนประกันภัย

2. ถ้าท่วมเสียหายทั้งคันหรือค่าซ่อมเกินกว่า 70% ของทุนประกันภัย  บริษัทจะพิจารณาจ่ายเต็มทุนประกันภัย

1.17 กรณีที่นำรถที่มีความคุ้มครองซ่อมอู่ ไปซ่อมห้างได้หรือไม่?

สามารถไปซ่อมห้างได้ โดยบริษัทจะพิจารณาคุมราคาตามราคามาตรฐานการจัดซ่อมของอู่ในเครือ โดยลูกค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบส่วนต่างค่าซ่อมเอง

1.18 การทำประกันชั้น 1 แล้ว ถูกขโมยอะไหล่รถ เช่น ล้อยาง สามารถเคลมบริษัทได้หรือไม่

สามารถเคลมได้ แต่จะต้องมีการลงบันทึกประจำวันว่าเกิดจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์เเละ ยักยอกทรัพย์

1.21 กรณีที่คนขับไม่มีใบขับขี่ และเกิดอุบัติเหตุ พรบ.และประกันรถยนต์จะคุ้มครองหรือไม่

1. พรบ.จะคุ้มครองไม่ว่ากรณีใดๆ ถึงแม้ว่าผู้ขับจะไม่มีใบขับขี่ก็ตาม

2. กรณีเป็นฝ่ายผิด ความเสียหายต่อตัวรถประกันจะไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่ยังคงรับผิดชอบต่อทรัพย์สินและอนามัยของบุคคลภายนอกเช่นเดิม

3. กรณีเป็นฝ่ายถูกสามารถรับผิดชอบความเสียหายของรถประกันได้

1.19 ถ้าติดตั้งอะไหล่เพิ่มเติมต่อมาอุปกรณ์เกิดความเสียหายสามารถเคลมได้หรือไม่

  • กรณีที่เป็นอุปกรณ์หรือของตกแต่งที่ติดตั้งเป็นมาตรฐานโรงงาน หรือตัวแทนผู้จำหน่าย - สามารถเคลมได้
  • กรณีอุปกรณ์ที่ติดตั้งเพิ่มเติม ต้องแจ้งบริษัทประกันภัยให้ทราบก่อนและซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมทุกครั้ง จึงได้รับความคุ้มครอง หากไม่ได้แจ้งหรือซื้อความคุ้มครองพิ่มเติมนั้น จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

1.20 กรณีจะเปลี่ยนสีรถ สามารถเคลมกับประกันได้หรือไม่ ถ้าได้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือไม่?

ไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ กรณีเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุประกันจะทำการชดใช้ให้ โดยที่ผู้เอาประกันสามารถเปลี่ยนสีรถได้ แต่ถ้ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการเปลี่ยนสี ผู้เอาประกันจะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง

1.22 กรณีสีรถยนต์หลุดลอก โดยไม่มีการชนสามารถเคลมประกันได้หรือไม่

ไม่ได้ เพราะเป็นความเสียหายจากการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน

1.23 กรณีที่ทำประกันรถยนต์กับทางทิพยประกันภัย ถ้าเกิดอุบัติเหตุจนต้องเข้าโรงพยาบาล ได้เบิกประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลในด้านค่ารักษาแล้ว สามารถเบิกค่ารักษาจากประกันภัยรถยนต์ และ พ.ร.บ. ได้หรือไม่?

ไม่สามารถเบิกได้ เนื่องจากบิลค่ารักษาสามารถทำการเคลมได้เพียงครั้งเดียวไม่สามารถทำซ้ำซ้อนกับประกันอื่นได้

1.24 เมื่อเกิดอุบัติเหตุการเฉี่ยวชน สามารถเคลื่อนย้ายรถยนต์ได้หรือไม่ ควรปฏิบัติอย่างใด เพราะเหตุใด

  1. เมื่อเกิดอุบัติเหตุ สามารถคลื่อนย้ายรถเข้าหลบข้างทางได้ แต่ควรถ่ายภาพในขณะที่รถยังอยู่ในจุดเกิดเหตุเอาไว้ก่อน โดยถ่ายไว้หลายๆ ภาพ ทั้งมุมกว้างและมุมแคบ เพื่อสะดวกต่อจากพิจารณาความได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากอุบัติเหตุนั้น
  2. เมื่อดำเนินการตามข้อ 1 แล้ว ควรแจ้งเหตุมายังประกันภัยเพื่อไปดำเนินการตรวจสอบ เมื่อพนักงานสำรวจตรวจสอบและสรุปได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากอุบัติเหตุนั้น โดยใช้หลักเดียวกับพนักงานสอบสวนคือยึด พรบ.จราจรเป็นหลัก
  3. หากไม่สามารถเจรจาตกลงให้ยุติในที่เกิดเหตุตามข้อ 2 ได้ จะต้องเข้าพบพนักงานสอบสวนในพื้นที่นั้นๆ เพื่อสรุปผลคดี หรือดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีต่อไป
  4. กรณีที่รถสองคันมีประกันภัยประเภท 1 ทั้งคู่และทราบว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ทำเอกสารชนแล้วแยก

02 การเคลมประกันภัยการเดินทาง

2.1 กรณีจองการเดินทางไว้ แต่ไม่สามารถเดินทางได้เนื่องจากนายจ้างไม่อนุมัติวันลา จะสามารถเรียกร้องสินไหมยกเลิกการเดินทางได้หรือไม่ ?

กรมธรรม์นี้จะไม่คุ้มครองการยกเลิกการเดินทางเนื่องจากเหตุผลและความจำเป็นของนายจ้าง

2.2 ประกันภัยอุบัติเหตุเดินทาง คุ้มครองการสูญเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย และค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยด้วยหรือไม่ ?

ประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางจะคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุอย่างเดียว และไม่รวมค่ารักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วย หากลูกค้าต้องการให้คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากการเจ็บป่วยด้วย จะต้องทำประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพอีกฉบับหนึ่ง

2.3 กรณีเจ็บป่วยจากโรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน สามารถเรียกร้องสินไหมค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดจากการได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลในต่างประเทศได้หรือไม่ ?

ไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลในต่างประเทศอันเนื่องมาจากโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกัน

2.4 กรณีมารดา/สามี/ภรรยาของของผู้เอาประกันเจ็บป่วยร้ายแรง หรือเสียชีวิตกระทันหัน สามารถเรียกร้องสินไหมการยกเลิกการเดินทางได้หรือไม่ ?

การพิจารณาชดใช้จะขึ้นอยู่กับการแถลงข้อเท็จจริง และ บริษัทจะชดใช้เงินคืนให้แก่ผู้เอาประกันภัย สำหรับการสูญเสียหรือความเสียหายของการบอกเลิกการเดินทาง ที่เกิดขึ้นหลังจากที่กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับแล้ว

สำหรับค่าใช้จ่ายที่ผู้เอาประกันภัยได้จ่ายไปล่วงหน้าบางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อเป็นค่ามัดจำหรือจองตั๋วเดินทาง หรือค่าที่พัก ตามที่ระบุในตารางความคุ้มครอง และ เงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย

2.5 ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีเดินทางไปต่างประเทศนั้น บริษัทมีโรงพยาบาลในเครือของตนเองหรือไม่ ?

บริษัทไม่มีโรงพยาบาลในเครือในต่างประเทศ ลูกค้าต้องสำรองเงินออกไปก่อน และมาตั้งเรื่องเบิกจ่ายภายหลัง

2.6 ประกันอุบัติเหตุเดินทางคุ้มครองการขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ การถูกฆ่าหรือถูกทำร้ายร่างกายหรือไม่ ?

การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ การถูกฆ่า หรือถูกทำร้ายร่างกาย

03 การเคลมประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุ

3.1หากต้องการเบิกค่ารักษาพยาบาล ประกันสุขภาพ และอุบัติเหตุ ต้องใช้เอกสารใดบ้าง และนำส่งช่องทางใด

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการเบิกค่ารักษาประกันสุขภาพ และ ประกันอุบัติเหตุ ประกอบด้วย

  • แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม (A01)
  • ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ
  • ใบแสดงรายการค่าใช้จ่าย (ถ้ามี)
  • ใบรับรองแพทย์ที่ระบุชื่อโรค การเกิดเหตุ อาการและร่องรอยบาดเจ็บที่เป็นอย่างชัดเจน (ใช้สำเนาได้)
  • สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการของผู้เอาประกันภัย
  • สำเนาบัตรสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ประเภทออมทรัพย์) ของผู้เอาประกันภัย

นำส่งเอกสารทั้งหมดมาที่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 1115 ถนนพระราม 3 แขวงช่องนนทรี เขตยานาวา กรุงเทพฯ 10120 (ส่วนงานสินไหมประกันสุขภาพ ชั้น 15) (โดยให้ส่งผลลงทะเบียน หรือ EMS หรือขนส่งเอกชนเพื่อที่จะ ติดตามเอกสารได้

3.2 หากต้องการเบิกค่าชดเชยรายได้ขณะเข้ารับรักษาใน รพ. ต้องใช้เอกสารใดบ้าง และนำส่งช่องทางใดบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการเบิกค่าชดเชยรายได้ขณะเข้ารับรักษาการรักษาในโรงพยาบาล ประกอบด้วย

  • แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม (A01)
  • สำเนาใบเสร็จรับเงิน หรือ สำเนาใบแจ้งหนี้
  • ใบแสดงรายการค่าใช้จ่าย (ถ้ามี)
  • ใบรับรองแพทย์ที่ระบุชื่อโรค การเกิดเหตุ อาการและร้องรอยบาดเจ็บที่เป็นอย่างชัดเจน (ใช้สำเนาได้)
  • สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการของผู้เอาประกันภัย
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ประเภทออมทรัพย์) ของผู้เอาประกันภัย

นำส่งเอกสารได้ 2 ช่องทาง

  • ทางไปรษณีย์-บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 1115 ถนนพระราม 3 แขวงช่องนนทรี เขตยานาวา กรุงเทพฯ 10120 (ส่วนงานสินไหมประกันสุขภาพ ชั้น 15) (โดยให้ส่งผลลงทะเบียน หรือ EMS หรือขนส่งเอกชนเพื่อที่จะ ติดตามเอกสารได้
  • ทาง Email: [email protected] ระบุหัวเรื่อง ส่งเบิกค่าชดเชยนอน โรงพยาบาล

3.3 หากต้องการเบิกค่าสินไหมกรณีทุพพลภาพ ต้องใช้เอกสารใด

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการเบิกค่าสินไหมกรณีทุพพลภาพ ประกอบด้วย

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย
  • ประวัติการรักษาพยาบาลตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน
  • ฟิล์มเอ็กเรย์ (ถ้ามี)
  • รูปถ่าบปัจจุบัน
  • ใบรายงานแพทย์กรณีเสียชีวิตและทุพพลาพ (A02)
  • ใบรายงานความเห็นแพทย์ กรณีประเมิณทุพพลภาพ (A04)
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ออมทรัพย์/กระแสรายวัน) ของผู้เอาประกัน
  • สำเนารายงานบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยพนักงานสอบสวนเจ้าสำนวนคดี (กรณีอุบัติเหตุ)
  • แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม (A01)

หมายเหตุ

  • เอกสารที่เป็นสำนวนทุกฉบับ จะต้องมีการรับรองสำเนาทุกครั้ง
  • ในกรณีชื่อหรือนามสกุล ไม่ตรงกับข้อมูลของบริาิษัทฯจะต้องมีหลักฐานเปลี่ยนแปลงชื่อ หรือ นามสกุลหรือทะเบียนสมรสของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์
  • ในกรณีที่ผู้เอาประกันยังไม่บรรลุนิติภาวะ บริษัทฯ จะจ่ายให้บิดา มารดา หรือ ผู้ที่ศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองเป็นผู้รับเงินแทนผุ้เยาว์
  • ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต บริษัทฯจะจ่ายให้ผู้ที่ศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกเป็นผู้รับเงิน
  • ระยะเวลาในการพิจารณาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายใน 15 วันหลังจากได้รับเอกสารครบถ้วน

 

3.4หากต้องการเบิกค่าสินไหมกรณี เสียชีวิตจากการเจ็บป่วย ต้องใช้เอกสารใด

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการเบิกค่าสินไหมกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย ประกอบด้วย

  • สำเนาใบมรณบัตร
  • สำเนาหนังสือรับรองการตาย หรือ ประวัติการรักษาพยาบาลย้อนหลังทั้งหมด
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกัน ที่มีการจำหน่าย "ตาย"
  • สำเนาบัตรประชาชน/ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์ทุกคน (กรณีผู้รับผลประโยชน์บรรลุนิติภาวะ)
  • สำเนาสูติบัตร, สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์ที่เป็นผู้เยาว์ / พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนของบิดา มารดา หรือ ผู้ปกครองของผู้รับผลประโยชน์ (กรณีผู้รับผลประโยชน์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)
  • สำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีผู้รับผลประโยชน์ป็นชาวต่างประเทศ)
  • ใบรายงานแพทย์กรณีเสียชีวิตและทุพพลาพ (A02)
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ออมทรัพย์/กระแสรายวัน) ของผู้เอาประกัน
  • แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม (A01)
  • คำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก หรือหนังสือลำดับทายาทโดยชอบธรรม (กรณีมิได้ระบุผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ หรือ ระบุผู้รับประโยชน์เป็นทายาทตามกฎหมาย)

3.5 หากต้องการเบิกค่าสินไหมกรณี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ต้องใช้เอกสารใด

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการเบิกค่าสินไหมกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ประกอบด้วย

  • สำเนาใบมรณบัตร
  • สำเนาหนังสือรับรองการตาย หรือ ประวัติการรักษาพยาบาลย้อนหลังทั้งหมด
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกัน ที่มีการจำหน่าย "ตาย"
  • สำเนาบัตรประชาชน/ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์ทุกคน (กรณีผู้รับผลประโยชน์บรรลุนิติภาวะ)
  • สำเนาสูติบัตร, สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์ที่เป็นผู้เยาว์ / พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนของบิดา มารดา หรือ ผู้ปกครองของผู้รับผลประโยชน์ (กรณีผู้รับผลประโยชน์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)
  • สำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีผู้รับผลประโยชน์ป็นชาวต่างประเทศ)
  • ใบรายงานแพทย์กรณีเสียชีวิตและทุพพลาพ (A02)
  • สำเนารายงานบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี ที่รับรองสำเนาถูกต้อง โดยพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนคดี
  • สำเนารายงานการชันสูตรพลิกศพที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยพนีกงานสอบสวนเจ้าของสำนวนคดี
  • คำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก หรือหนังสือลำดับทายาทโดยชอบธรรม (กรณีมิได้ระบุผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ หรือ ระบุผู้รับประโยชน์เป็นทายาทตามกฎหมาย)
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ออมทรัพย์/กระแสรายวัน) ของผู้เอาประกัน
  • แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม (A01)
  • อื่นๆ (ถ้ามี)
    • สำเนารายงานตรวจสภาพศพจากสถาบันนิติเวชวิทยา / สถาบันนิติยาศาสตร์ (กรณีมีการตรวจพิสูจน์ศพ)
    • สรุปสำนวนการสอบสวนคดี
    • รายงานข่าวการเสียชีวิตจากหนังสือพิมพ์
    • หนังสือรับรองคณะกรรมการ สามฝ่าย (ฝ่ายปกครอง, ฝ่ายทหาร, ฝ่ายตำรวจ) ของผู้รับผลประโยชน์

3.6 หากต้องการเบิกค่าสินไหมกรณีทุพพลภาพ / เสียชีวิต จะต้องนำส่งช่องทางใด

นำส่งเอกสารได้ 2 ช่องทางคือ 

  • ทางไปรษณีย์-บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 1115 ถนนพระราม 3 แขวงช่องนนทรี เขตยานาวา กรุงเทพฯ 10120 (ส่วนงานสินไหมประกันสุขภาพ ชั้น 15) (โดยให้ส่งผลลงทะเบียน หรือ EMS หรือขนส่งเอกชนเพื่อที่จะ ติดตามเอกสารได้
  • ทาง Email: [email protected] ระบุหัวเรื่อง ส่งเบิกค่าชดเชยนอน โรงพยาบาล

3.7 ใช่สิทธิ์ค่ารักษาที่โรงพยาบาลในเครือของทิพย ต้องใช้บัตรประกันหรือไม่

ไม่จำเป็นต้องใช้บัตรประกัน ลูกค้าสามารถยื่นบัตรประชาชนที่โรงพยาบาลได้

โดยสามารถเช็คโรงพยาบาลในเครือได้ที่ >> คลิก <<

3.8 หากโรงพยาบาลตรวจสอบสิทธิ์ความคุ้มครองประกันแล้วไม่พบความคุ้มครอง ต้องทำอย่างไร?

ผู้เอาประกันสามารถสำรองจ่าย และ ส่งเอกสารเคลมตรงมายังบริษัทฯ (เพื่อแจ้งรายละเอียดเอกสารการเรียกร้องค่าสินไหม ค่ารักษาให้แก่ผู้เอาประกันภัย)

3.9 เบิกค่ารักษาพยาบาลสามารถขอใบเสร็จต้นฉบับคืนได้หรือไม่

สามารถขอคืนได้ โดยให้ผู้เอาประกันภัยระบุมาในแบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมว่า ขอเอกสารต้นฉบับคืนโดยทางบริษัทฯ จะประทับตราจำนวนเงินค่าสินไหมที่ทางบริษัทฯคุ้มครองลงในใบเสร็จต้นฉบับและนำส่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย

3.10 หากใบเสร็จต้นฉบับสูญหายต้องทำอย่างไร?

ผู้เอาประกันต้องดำเนินการแจ้งความหรือลงบันทึกประจำวัน ว่าใบเสร็จต้นฉบับได้สูญหายไปเมื่อใด ที่ใด โดยระบุเลขที่ใบเสร็จ ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อโรงพยาบาล วันที่เข้ารับการรักษา ยอดค่าใช้จ่าย และนำส่งใบแจ้งความนี้พร้อมสำเนาฝบเสร็จ และเอกสารประกอบพิจารณาค่าสินไหมทดแทนกลับมายังบริษัท

3.11 มดกัด ยุงกัด สามารถเคลมประกันอุบัติเหตุได้หรือไม่

เนื่องจากมด และยุงไม่ใช่สัต์พิษร้ายแรงจึง ไม่ถือว่าเป็นอุบัติเหตุทำให้ไม่สามารถเคลมประกันอุบัติเหตุได้

โดยที่อุบัติเหตุหมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันจากปัจจัยนอกร่างกาย ที่บุคคลผู้เอาประกันภัยมิได้เจตนาหรือมุ่งหวังและทำให้เกิดผลต่อผู้เอาประกัน 

3.12 กรมธรรม์อุบัติเหตุคุ้มครองการรักษาฟันอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ หรือไม่

คุ้มครองการรักษารากฟัน อันเนื่องมาจากอบุัติเหตุ โดยคุ้มครองภายใน 7 วัน นับจากวันที่เกิดเหตุ (คุ้มครองการอุด การถอน และ เอ็กซเรย์ฟัน) ไม่คุ้มครองการทำฟันปลอม สะพานฟัน หรือทันตกรรมประดิษฐ์

3.13 การทะเลาะวิวาทหรือโดนทำร้ายร่างกายสามารถใช้สิทธิ์ผ่าน โรงพยาบาลได้หรือไม่

บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิการใช้สิทธิผ่านทางโรงพยาบาล โดยขอให้ผู้เอาประกันภัยสำรองจ่าย ส่งเคลมตามพร้อมสรุปสำนวน คดีมายังบริาัทเพื่อพิจารณา

04 การเบิกค่ารักษาพยาบาล ประกันอุบัติเหตุ

ค่ารักษาพยาบาลจะเบิกซ้ำซ้อน จากหน่วยงานที่ให้สวัสดิการ/สิทธิ์ประกันสุขภาพของบริษัทอื่น ได้หรือไม่ ?

หากผู้เอาประกันภัยได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลเต็มจำนวนแล้ว จากสวัสดิการ/สิทธิประกันสุขภาพของบริษัท ก็จะไม่สามารถเบิกเงินชดเชยได้อีก แต่หากผู้เอาประกันภัยได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลแล้วเพียงบางส่วน ก็สามารถเบิกเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เหลือตามเงื่อนไขกรมธรรม์กับบริษัทฯ ได้

05 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเสียหาย ประกันอัคคีภัย

การประกันอัคคีภัย เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้บางส่วน จะมีการจ่ายสินไหมทดแทนอย่างไร ?

สำหรับการประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย มีหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาชดใช้ค่าเสียหายดังนี้ พิจารณามูลค่าทรัพย์สิน ณ เวลาที่เกิดความเสียหาย จำนวนเงินที่เอาประกันภัย มูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย

     - กรณีที่จำนวนเอาประกันภัยไว้ มากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของมูลค่าทั้งหมดของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย (100%) ขณะเกิดความเสียหาย บริษัทฯ จะชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เอาประกันเต็มจำนวนความเสียหาย (แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกัน) ยกตัวอย่างเช่น บ้านหลังหนึ่งมีมูลค่าทั้งหมด (100%) = 1,000,000 บาท เอาประกันภัยไว้ 700,000 บาท (70%) เพลิงไหม้ ได้รับความเสียหายบางส่วน = 250,000 บาท บริษัทฯ จะชดใช้ค่าเสียหายให้ 250,000 ตามความเสียหายจริง (แต่ไม่เกินทุนประกัน)

     - กรณีที่จำนวนเอาประกันภัยไว้ ต่ำกว่า 70% ของมูลค่าทั้งหมดของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย (100%) ขณะเกิดความเสียหาย ให้ถือว่าผู้ประกันภัยรับความเสี่ยงภัยไว้เองในส่วนที่แตกต่างกับมูลค่าที่แท้จริง จะต้องใช้หลักการเฉลี่ยค่าเสียหาย ( Law of Average ) มาพิจารณาจ่ายค่าเสียหาย เช่น บ้านหลังหนึ่งมีมูลค่าทั้งหมด (100%) = 1,000,000 บาท เอาประกันภัยไว้ 500,000 บาท (50%) เพลิงไหม้ ได้รับความเสียหายบางส่วน = 250,000.00 บาท บริษัทฯจะชดใช้ค่าเสียหายให้ 125,000 บาท (50% ของมูลค่าความเสียหาย)

มาตรฐานการประกันภัยระดับสากล

ISO 9001 และ ISO 27001


มั่นคงด้วยผู้ถือหุ้นใหญ่จากบริษัทชั้นนำ

  • ptt
  • krungthai
  • ธนาคารออมสิน
certified company

สวัสดีครับ

หนุม่อนยินดีช่วยเหลือครับ